Assembly & Automation Technology logo
19-22 มิถุนายน 2567

บทบาทของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ในอนาคต

  •  ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปี นับจากหุ่นยนต์ทางการแพทย์ถือกำเนิดขึ้น มีบทบาทสำคัญในการให้บริการด้านสุขภาพที่มีความหลากหลายมากขึ้นเป็นลำดับ
  • AI และเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ ขับเคลื่อนให้หุ่นยนต์ทางการแพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุนการทำงานของบุคลาการแพทย์ได้ดียิ่งกว่าเคย
  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ขึ้น ลดระยะเวลาในการฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจ

นับตั้งแต่หุ่นยนต์ตัวแรกในสาขาการแพทย์ถือกำเนิดขึ้นในทศวรรษ 1980 ให้ความช่วยเหลือด้านการผ่าตัดผ่านเทคโนโลยีแขนหุ่นยนต์ ต่อมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์วิทัศน์และการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลได้เปลี่ยนโฉมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ช่วยให้ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัดที่ซับซ้อนได้รวดเร็วและแม่นยำขึ้น ทั้งยังช่วยลดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ขณะที่การใช้แพลตฟอร์มจำลองโดย AI และความเป็นจริงเสมือน เพื่อฝึกอบรมหุ่นยนต์ผ่าตัด ภายในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ทำให้ศัลยแพทย์สามารถฝึกขั้นตอนผ่าตัดและฝึกฝนทักษะการควบคุมหุ่นยนต์ให้ช่ำชอง

นอกจากนี้ ยังขยายขีดความสามารถไปสู่การดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ  ทำให้ในปัจจุบันไม่เพียงแต่มีการใช้หุ่นยนต์ในห้องผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังใช้ในงานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์และเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย รวมถึงลดขั้นตอนการทำงาน ทำให้คล่องตัวและลดความเสี่ยงต่าง ๆ ส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย เช่น หุ่นยนต์สามารถทำความสะอาดและเตรียมห้องผู้ป่วยได้อย่างอิสระ ในหอผู้ป่วยโรคติดเชื้อ ขณะที่หุ่นยนต์ที่มีซอฟต์แวร์ระบุยาที่ใช้ AI ช่วยลดเวลาที่ใช้ในการแจกจ่ายยาให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล  รวมถึงมีการนำหุ่นยนต์ทางการแพทย์ไปใช้ในห้องปฏิบัติการวิจัย เพื่อทำให้งานที่ต้องทำด้วยมือ ซ้ำ ๆ และมีปริมาณมากเป็นอัตโนมัติ เปิดโอกาสให้ช่างเทคนิคและนักวิทยาศาสตร์มุ่งความสนใจไปที่งานเชิงกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการค้นพบนวัตกรรมมากขึ้น รวมถึงทำให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ จะสามารถใช้เวลาในการดูแลผู้ป่วยโดยตรงได้มากขึ้น

 

ที่สำคัญ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ยังช่วยจัดการกับปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและความท้าทายต่าง ๆ เช่น การติดตามสินค้าคงคลังและการสั่งซื้ออย่างทันท่วงที เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และยาอยู่ในสต็อก รวมถึงใช้ยกของหนัก เพื่อลดความเครียดทางร่างกายของบุคลากรทางการแพทย์ เช่น การเคลื่อนย้ายเตียงหรือผู้ป่วย 

พัฒนาการของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์บำบัดสามารถช่วยในการฟื้นฟูหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต หรือการบาดเจ็บที่สมอง หรือความบกพร่องที่เกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) แขนหุ่นยนต์ที่ติดตั้งบนเก้าอี้รถเข็น  กำลังได้รับการพัฒนาโดย Intel และ Accenture โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อหุ่นยนต์ติดตั้ง AI และกล้องวัดความลึก หุ่นยนต์จะสามารถตรวจสอบรูปร่างของผู้ป่วยขณะออกกำลังกายตามที่กำหนด วัดระดับการเคลื่อนไหวในตำแหน่งต่าง ๆ และติดตามความคืบหน้าได้แม่นยำกว่าสายตามนุษย์ รวมถึงสามารถโต้ตอบกับผู้ป่วยเพื่อให้คำแนะนำและให้กำลังใจได้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ช่วยในการสนับสนุนทางอารมณ์ของผู้ป่วย (Social Companion) ตัวอย่างเช่น เช่น Jibo, Pepper หรือ Buddy  โซเชียลบอทที่เป็นมิตรเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อโต้ตอบกับผู้ป่วยผ่านการสนทนา นับว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานดูแลผู้สูงอายุ ช่วยปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยภายในสถานพยาบาลต่าง ๆ โดยให้มิตรภาพและบรรเทาความรู้สึกเหงา 

 

นอกจากนี้ อีกหนึ่งตัวอย่างนวัตกรรมหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่น่าจับตาในอนาคต คือ Intel® RealSense™ กล้องถ่ายภาพสามมิติที่มีเซนเซอร์วัดระยะมาด้วย (Depth Camera) ช่วยให้ผู้ให้บริการติดตามการเปลี่ยนแปลงในข้อต่อของผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  เพื่อติดตามการลุกลามของโรคอย่างแม่นยำ และสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องทำการกายภาพบำบัด กล้องนี้ช่วยให้นักบำบัดสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อระบุความคืบหน้าในการฟื้นฟูได้แม่นยำมากขึ้น รวมถึงหุ่นยนต์การแพทย์ทางไกล โดยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่มีเซนเซอร์หรือกล้องสามารถช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้ให้บริการทางการแพทย์และผู้ป่วยในพื้นที่ด้อยโอกาสได้ ด้วยการให้คำปรึกษาเสมือนจริงกับผู้ป่วยที่อาศัยในพื้นที่ห่างไกล ทำให้สามารถรับความช่วยเหลือทางการแพทย์และโปรแกรมการรักษาจากระยะไกลได้ ด้วยการให้ข้อมูลสำคัญด้านสุขภาพของผู้ป่วยแบบเรียลไทม์ เช่น ความดันโลหิต อัตราชีพจร และระดับออกซิเจน เป็นต้น ช่วยให้แพทย์สามารถแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ทันที ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังจะได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากสิ่งนี้

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นชัดเจนว่าเมื่อปัญญาประดิษฐ์ แมชชีนเลิร์นนิง การวิเคราะห์ข้อมูล คอมพิวเตอร์วิทัศน์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ มีวิทยาการที่ก้าวหน้า หุ่นยนต์ทางการแพทย์จะมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์ได้โดยอัตโนมัติ โดยมีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่หนุนนำให้ตลาดหุ่นยนต์ทางการแพทย์ทั่วโลกซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 13,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2566 คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มเป็น 52,410 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 15.69% โดยโรงพยาบาลจะมีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่ที่สุด

 

นอกเหนือจากการเกาะติดการอัปเดทข่าวสารต่าง ๆ จากบล็อกของเราแล้ว ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่สามารถสัมผัสได้โดยตรงภายในงาน Assembly & Automation Technology 2024 แสดงเทคโนโลยีระบบและโซลูชั่นเพื่อสายการผลิตอัตโนมัติ ที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 23 ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ พลาสติก อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจการบริการต่าง ๆ เช่นโรงแรม ร้านอาหาร โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าชมงานล่วงหน้าทางหรือสำรองพื้นที่แสดงสินค้าของคุณได้ที่นี่

Sources