Assembly & Automation Technology logo
18-21 มิถุนายน 2568

ปรับตัวอย่างไรเมื่อหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีบทบาทมากขึ้นในหลายอุตสาหกรรม

  • อุตสาหกรรมการผลิต มีการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (HRC) ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นของสภาพแวดล้อมการผลิตอัจฉริยะ ช่วยเพิ่มผลผลิต คุณภาพ และความยืดหยุ่น
  • อุตสาหกรรมการแพทย์  ใช้หุ่นยนต์ในการจ่ายยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลด้านอารมณ์และผู้สูงอายุ การปรับปรุงมาตรฐานและประสิทธิผลของการดูแลรักษาทางการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานในการให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ช่วยฝึกผู้ป่วยในการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ และติดตามความคืบหน้าในการฟื้นตัว และส่งข้อมูลกลับไปยังนักบำบัดที่เป็นมนุษย์ ช่วยให้พวกเขาปรับแต่งโปรแกรมการฟื้นฟูได้ละเอียดและตอบโจทย์ผู้ป่วยรายนั้น ๆ
  • อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ มีการบูรณาการหุ่นยนต์เข้ากับยานพาหนะไร้คนขับและโดรน เพื่อความสะดกสบายและรวดเร็วในโลกยุคปัจจุบัน

แม้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะคืบคลานเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการทำงาน แต่ไม่ถือเป็นภัยคุกคามมนุษย์ หากรู้จักปรับตัวและกรอบความคิด เพื่อติดอาวุธ พัฒนาสติปัญญาและศักยภาพของตัวเอง รวมถึงเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับเทคโนโลยีนี้ฉันมิตร

 

เพื่อให้ก้าวทันโลกที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นโลกที่หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีบทบาทสำคัญมากขึ้นทั้งในการทำงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่มนุษย์จะต้องปรับตัวให้ได้ ด้วยการยอมรับบทบาทของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยตระหนักถึงประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความสามารถในการผลิตที่เพิ่มขึ้น แทนที่จะมองว่าหุ่นยนต์มาแทนที่คนงาน มนุษย์ควรมองว่าหุ่นยนต์เป็นเครื่องมือที่เสริมทักษะและความสามารถของตน จึงควรเปิดใจในการเรียนรู้ ปรับตัวเข้ากับขั้นตอนการทำงานใหม่และเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ รับการฝึกอบรมเพื่อทำความเข้าใจวิธีทำงานเคียงข้างหุ่นยนต์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความสามารถและข้อจำกัดของหุ่นยนต์ 

ขณะที่การ Upskill ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแรงงานและบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในทุกอุตสาหกรรมทักษะต่าง ๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความเห็นอกเห็นใจ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดเชิงวิพากษ์ และการตัดสินใจที่ซับซ้อน มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถแทนที่ได้ด้วยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทั้งหมดตลอดจนต้องทำความเข้าใจโปรโตคอลด้านความปลอดภัย และทักษะทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้งานและโต้ตอบกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

นอกจากนี้ มนุษย์จำเป็นต้องพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาเพื่อจัดการกับความท้าทายหรือปัญหาใด ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานร่วมกันกับหุ่นยนต์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาด้านเทคนิค การเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงาน หรือค้นหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน

 

สุดท้าย แม้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเพียงใด แต่เป้าประสงค์ของการใช้งานเทคโนโลยีนี้คือการเพิ่มผลผลิต หุ่นยนต์ถูกกำหนดให้ทำงานซ้ำ ๆ โดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย อุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงใช้หุ่นยนต์เพื่อทำงานที่น่าเบื่อและซ้ำซ้อนให้สำเร็จ ช่วยให้มนุษย์สามารถรับมือกับงานที่ท้าทายยิ่งขึ้น รวมถึงเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถในการทำงานขึ้นไปอีกขั้น ดังนั้น “ผู้ที่อยู่รอดไม่ใช่ผู้ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด แต่คือผู้ที่ปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด” ตามทฤษฎีด้านวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตของชาร์ลส์ ดาร์วิน   

เราเลือกได้เองว่าจะเป็นผู้ที่อยู่รอด หรือถูกละทิ้งไว้ข้างหลัง

โปรดติดตามเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมจากบล็อกของเราที่นำมาอัปเดทอย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถเยี่ยมชมภายในงาน Assembly & Automation Technology 2024 งานแสดงเทคโนโลยีระบบและโซลูชั่นเพื่อสายการผลิตอัตโนมัติ ที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 23 ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมการผลิต ทั้งยานยนต์ บรรจุภัณฑ์ พลาสติก อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจการบริการต่าง ๆ เช่น โรงแรม และร้านอาหาร เป็นต้น

ที่มา